ประเพณีกวนกระยาสารท

การกวนขนมกระยาสารท ถือว่าเป็นประเพณีที่มักจะกระทำกันทุกปี

โดยหวังว่าการจัดงานกวนขนมกระยาสารทขึ้นมานี้จะช่วยให้ชาวบ้านมีความรักและสามัคคีกัน คอยช่วยเหลือและร่วมแรงร่วมใจกัน โดยชาวบ้านมักจะจัดงานกวนกระยาสารทขึ้นในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 โดยจะจัดทุกปีในเดือนกันยายน ซึ่งชาวบ้านแต่ละคนก็จะนำถั่ว  นำงา นำข้าวเม่า นำข้าวตอก และน้ำนมวัว รวมถึงน้ำผึ้งมารวมกันที่วัด

ซึ่งบ้านไหนมีมากก็นำมามาก บ้านไหนมีน้อยก็นำมาน้อย หรือบ้านไหนที่ยากจนมากไม่มีของมา ก็สามารถมาช่วยด้านแรงงานได้ เพราะการกวนขนมกระยาสารทนั้นจะต้องมีการช่วยกันกวนหลายคน เพราะกระทะที่ใช้กวนจะมีขนาดใหญ่ ทำให้ต้องใช้คนจำนนวนมากในการช่วยกันกวนขนม ซึ่งขนมกระยาสารทนั้นเป็นขนมไทยที่จะใช้สำหรับการทำบุญตักบาตร

เน้นเป็นการถวายพระในงานบุญเท่านั้น ถือได้ว่าเป็นขนมที่มีมานานตามประเพณี โดยต้องทำตามวัน เวลา ที่แน่นอนตายตัว  

สำหรับประเพณีการกวนขนมกระยาสารทนั้น ว่ากันว่ามีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว นอกจากที่ประเทศไทยแล้วประเพณีกวนขนมกระยาสารท ยังมีการจัดงานกวนขนมกระยาสารท ที่ประเทศอื่นอื่นด้วย เช่น ทางแทบประเทศจีน และตอนเหนือของยุโรป ซึ่งคำว่าสารท อันที่จริงแล้ว ว่ากันว่ามีรากฐานของคำศัพท์มาจากประเทศอินเดีย

เป็นภาษาของประเทศอินเดียโดยตรง โดยมีความหมายถึงว่าอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว ซึ่งช่วงนี้ของประเทศไทยคือช่วงที่พืชพันธ์ของไทยกำลังผลิตดอกออกผล พอดี เป็นช่วงทีข้าวกำลังออกรวงข้าว ในช่วงสมัยสุโขทัยประเพณีกวนขนมกระยาสารท เป็นที่นิยมกันแพร่หลายมาก ต่อมาก็ลดจำนวนน้อยลงเรื่อยเรื่อย

จนปัจจุบันจะมีการจัดประเพณีการกวนขนมกระสารทเพียงไม่กี่ที่เท่านั้น โดยจะมีการนัดกันรวมตัวกันที่วัดและหลังจากที่มีการกวนขนมกระยาสารทเสร็จแล้วก็จะมีการตักใส่ถุงแจกจ่ายให้กับแต่ละบ้านที่มาช่วยกันกวน และในวันรุ่งขึ้นก็จะมีการนำขนมกระยาสารทที่กวนแล้วเมื่อวานนำมาใส่บาตรด้วย  ปัจจุบันเราจะยังคงเห็นขนมกระยาสารท มีขายตามร้ายขายขนมทั่วไป แต่จะมีขายเฉพาะช่วงที่มีการจัดงานประเพณีนี้เท่านั้น

ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มักจะซื้อกิน ไม่นิยมมาทำทานร่วมกันแล้ว และไม่ได้ทำเอาไว้สำหรับใส่บาตรเท่านั้น หลายคนซื้อเพื่อกินเล่นอีกด้วย แม้ว่าประเพณีกวนขนมกระยาสารท จะห่างหายไปจากประเทศไทยแล้ว แต่เราคนไทยก็ยังคงหากินขนมกระยาสารทนี้ได้ตลอด

 

สนับสนุนโดย  9luck