คณะราษฎร2475ไม่ใช่การปฏิวัติของชาวนา

นอกจากนี้อย่างไรก็ตามมันอาจจะเป็นการเคลมใหญ่เกินไปว่าความเดือนร้อนของประชาชนชั้นล่างเป็นสาเหตุหลักในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร เพราะ2475ไม่ใช่การปฏิวัติของชาวนาที่ลุกฮือขึ้นมาเปลี่ยนแปลงระบอบ เพราะคณะราษฎรส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทั้งนั้น

เพราะคณะราษฎรส่วนใหญ่เป็นข้าราชการทั้งนั้นปัญหาหลักน่าจะเป็นการกระจุกตัวของตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งราชการระดับสูงสำนวนฝรั่งเขาเเรียกกันว่าGlass Ceiling หรือ เพดานกระจกที่หนามากGlass Ceilingนั้นหมายความว่าเป็นอุปสรรคที่ขวางอยู่เหนือหัวแม้มองไม่เห็นเพราะว่ามันใสๆแบบแก้วแต่เราจะไม่สามารถปีนขึ้นไปเกินจากที่ๆเรายืนอยู่ได้เลย

ทั้งนี้เพดานกระจกที่ว่าก็คือความไม่มีเชื้อสายความไม่ได้มีนามสกุลที่ถูกต้องความไม่มีคอนเน็คชั่นในแง่ครอบครัวสายเลือดนั่นเองคนธรรมดาที่อยากเจริญก้าวหน้าถึงแม้ว่าจะหลุดพ้นจากการเป็นชนชั้นล่างก็ต้องเข้าไปเป็นข้าราชการในระบบที่ตัวเองไม่มีวันได้เป็นใหญ่เป็นโตไม่เหมือนกับคนที่มีเชื้อสายแต่กำเนิดยิ่งเศรษฐกิจไม่ดีก็ยิ่งเป็นข้าราชการระดับกลางยากขึ้นเรื่อยๆ

สำหรับคณะราษฎรสมาชิกที่เป็นสายพลเรือน เช่นปรีดี พนมยงค์ ก็มีพื้นเพในลักษณะนี้คือได้เกิดในครองครัวชนบทที่หล่อหลอมให้เขามองเห็นปัญหาและขับเคลื่อนความคิดว่าถ้าผลประโยชน์ไปไม่ถึงทุกคนชนชั้นก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครอง

ถ้าเราลองอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่1ที่นายปรีดีเป็นคนเขียนก็จะสะท้อนเรื่องนี้ตรงๆในท่อนที่บอกว่าถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใด ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธาแต่สำหรับสายทหารในคณะราษฎรมุมมองความเห็นอกเห็นใจชนชั้นล่างแบบสายพลเรือน

อาจจะแตกต่างกันออกไปแต่พวกเขาก็รู้สึกแบบเดียวกันว่าระบบรวบอำนาจทำให้ชาติอ่อนแอประเทศไม่เสียดินแดนแต่ก็เสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตแต่ผลประโยชน์กลับไม่กระจายออกไปมากพอ

ชาวชาติชาติหรือคนในอาณัติของเจ้าอาณานิคมก็ไม่ต้องขึ้นศาลไทยอีกต่างหาก พระยาทรงสุรเดชมีความเห็นในมุมทหารต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่าพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่แทบทั้งหมดมุ่งแต่ทำตัวให้โปรดปรานไว้เนื้อเชื่อใจจากพระเจ้าแผ่นดิน หรือ พระยาพหลก็คิดว่าพวกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทำอะไรตามใจเกินไปไม่สนใจระดับล่างเลย

ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ทั้งคู่จะมีความคิดอยากเปลี่ยนแปลงอยู่แล้วแต่ก็ทำอะไรได้ไม่มากเพราะทหารชั้นผู้ใหญ่ก็ไม่มีใครอยากจะเปลี่ยนแปลงอะไรที่ทำให้ตัวเองเสียผลประโยชน์และทหารชั้นผู้ใหญ่ก็ล้วนแต่สมาทานกับระบบอำนาจนิยมอย่างเต็มที่

ภายในคณะราษฎรที่มีทั้งทหารและพลเรือนมีความเห็นร่วมกันแบบกว้างๆเพียงว่าจะต้องให้มีการปกครองแบบราชาธิปไตนภายใต้กฎหมายเท่านั้น

 

ได้รับการสนับสนุนโดย  dewabet